seach
23 เม.ย. 2567
119
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,168,900 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 27,819 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.3
23 เม.ย. 2567
146
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการนโยบายฯ) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 และมีมติเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
21 เม.ย. 2567
33
ในระหว่างวันที่ 18 – 19 เมษายน 2567 นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ว่าการสำรองชั่วคราวของไทยในธนาคารโลก ได้เข้าร่วมการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Spring Meetings) ประจำปี 2567 โดยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก (Development Committee Meeting) ครั้งที่ 109 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (การประชุมฯ) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นาย Ajay Banga ประธานธนาคารโลก นาง Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหวางประเทศ และผู้ว่าการธนาคารโลกของ 25 กลุ่มออกเสียง ที่เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิก 189 ประเทศ และมีหัวข้อการประชุมคือ “From Vision to Impact: Implementing the World Bank Group Evolution”
19 เม.ย. 2567
41
รายงานความคืบหน้าประจำสัปดาห์ของผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามมาตรการสินเชื่อดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 18 เมษายน 2567 มีประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบได้รับอนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วจำนวน 9,415 ราย รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 450.79 ล้านบาท
11 เม.ย. 2567
31
วันนี้ (11 เมษายน 2567) บริษัท Moody’s Investors Service (Moody’s) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
11 เม.ย. 2567
45
กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอสังหาริมทรัพย์และช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว ดังนั้น กระทรวงการคลังได้ขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
11 เม.ย. 2567
25
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอสังหาริมทรัพย์และช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว ดังนั้น กระทรวงการคลังได้ขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดั
11 เม.ย. 2567
24
กระทรวงการคลังขอรายงานความคืบหน้าประจำสัปดาห์ของผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามมาตรการสินเชื่อดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 8 เมษายน 2567 มีประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบได้รับอนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วจำนวน 8,806 ราย รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 426.55 ล้านบาท โดยมีจำนวนประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (4 เมษายน 2567) 1,913 ราย รวมเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 70.81 ล้านบาท
11 เม.ย. 2567
26
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้แถลงนโยบายเพื่อยกระดับให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเชิงรุก
เพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินผ่านมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ ได้แก่ โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชน สินเชื่อเพื่อชำระหนี้สินนอกระบบและสินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน รวมถึงมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับ ลูกหนี้นอกระบบที่ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566)
10 เม.ย. 2567
113
คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้เห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม