seach

แถลงข่าว rss
21 พ.ย. 2567
icon2
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิเดือนตุลาคม 2567 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 205,340 ล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการ โดยการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการนำส่งรายได้บางส่วนเหลื่อมมาจากปีก่อน อย่างไรก็ดี การคืนภาษีของกรมสรรพากรซึ่งเป็นรายการหัก สูงกว่าประมาณการ
15 พ.ย. 2567
icon8
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ดร. เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดตัวระบบ “QR บุหรี่” ณ การยาสูบแห่งประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
12 พ.ย. 2567
icon44
กระทรวงการคลังจึงได้เสนอมาตรการสินเชื่อซื้อ-ซ่อม-สร้าง ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 มีมติเห็นชอบแล้ว
12 พ.ย. 2567
icon49
โครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ ลูกจ้าง พ่อค้า แม่ค้า หรือผู้รับจ้างให้บริการต่าง ๆ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ หรือนำไปชำระหนี้นอกระบบ หรือหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่กู้ยืมมาใช้ในการประกอบอาชีพหรือดำรงชีพ วงเงินรวมไม่เกิน 15,000 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ระยะเวลาชำระคืนเงินงวดสูงสุดไม่เกิน 5 ปี สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568
8 พ.ย. 2567
icon19
ผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 7 พฤศจิกายน 2567 มีประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบได้รับอนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วจำนวน 22,400 ราย ยอดอนุมัติรวมทั้งสิ้น 1,064.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแถลงข่าวกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จำนวน 937 ราย และมียอดอนุมัติเพิ่มขึ้น 39.72 ล้านบาท
5 พ.ย. 2567
icon21
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ดร. เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้ามอบนโยบายแก่กรมสรรพสามิต โดยมีอธิบดี คณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ให้การต้อนรับและรับมอบนโยบาย โดยต้องการให้กรมสรรพสามิตเป็นกลไกและรักษาสมดุลด้านภาษีระหว่างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน ธรรมาภิบาล และรายได้การจัดเก็บ
31 ต.ค. 2567
icon21
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2567 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน ตุลาคม 2567 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความผันผวนในตลาดการเงิน และทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก"
31 ต.ค. 2567
icon36
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่า “เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 2.2 ถึง 3.2) คงเดิมจากประมาณการครั้งก่อนและนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี นำโดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทาง เข้ามาในประเทศไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีจำนวน 36.0 ล้านคน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.6 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.1 ถึง 5.1) เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน แม้จะเผชิญแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัย แต่ผลจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐได้ชดเชยและสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับประชาชนมากขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 2.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.4 ถึง 3.4) เนื่องจากมีสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าคาดในไตรมาสที่ 2 และ 3 จากโอกาส ของผู้ประกอบการไทยแทนที่สินค้าจีนที่ถูกปรับขึ้นภาษีจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐคาดว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.6) และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.3 ถึง 1.3) อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าหดตัวที่ร้อยละ -1.9 (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ -2.4 ถึง -1.4) เนื่องจากการหดตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือโดยเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์สันดาปที่ลดลง ซึ่งต้องจับตาการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างใกล้ชิด
30 ต.ค. 2567
icon36
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) จำนวน 2,792,872 ล้านบาท โดยการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่น กรมศุลกากร และกรมธนารักษ์สูงกว่าประมาณการ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตและกรมสรรพากรต่ำกว่าประมาณการ
30 ต.ค. 2567
icon26
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,791,721 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 3,542,397 ล้านบาท