thumbnail

Infographic_COVID-19 rss-icon
  • 12 ม.ค. 2564
    นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า วันนี้ (12 มกราคม 2564) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ระบาดรอบใหม่ ของสถาบันการเงินสมาชิกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ(SFIs) ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยในส่วนของ ธอส. คณะกรรมการธนาคารมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด-19 ผ่าน “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” ด้วย 4 มาตรการลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่เคยหรืออยู่ระหว่างใช้ “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” และ “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” รวมถึงลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งลูกค้ารายย่อยและกลุ่ม SMEs ที่มีสถานะปกติ หรือสถานะ NPL ประกอบด้วย มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 - 29 มกราคม 2564 มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2564 มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 กุมภาพันธ์ 2564 มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น 1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564 หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ 9-11 ระยะแรก ต้องดาวน์โหลดหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น ส่วนดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าทยอยผ่อนชำระได้จนถึง ก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้ สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการที่ธนาคารกำหนด และยังมีปัญหาด้านรายได้ทำให้ ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามปกติ ธนาคารพร้อมพิจารณาขยายความช่วยเหลือในรูปแบบการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้เป็นรายกรณีต่อไป ส่วนกรณีที่หน่วยงานที่มีสวัสดิการเงินกู้กับธนาคารได้รับผลกระทบจากโควิด-19ให้หน่วยงานมีหนังสือแจ้งมายังธนาคารเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่กู้เงินกับธนาคารต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • 12 ม.ค. 2564
    SME D Bank ช่วยต่อเนื่อง ออกมาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ เติมเงินใหม่ไปต่อ” ดูแลเอสเอ็มอีไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้สิทธิลูกค้าเดิมพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน พร้อมเติมเงินเสริมสภาพคล่อง ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แจงพิจารณาแนวทางช่วยเหลือตามผลกระทบหนักเบาของลูกค้าแต่ละราย แนะแจ้งความประสงค์ผ่านออนไลน์ สะดวก และปลอดภัย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ภายในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ยอดขายลดลง ชะลอยอดสั่งซื้อ จำนวนผู้ใช้บริการลดลง เป็นต้น SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมเคียงข้างดูแลลูกค้าธนาคาร และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จึงออกชุดมาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ เติมเงินใหม่ไปต่อ” โดยแนวทางช่วยเหลือขึ้นอยู่กับผลกระทบหนักเบาของลูกค้าแต่ละราย เป้าหมายเพื่อช่วยประคับประคองธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เดินต่อไปได้ จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ สำหรับมาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ เติมเงินใหม่ไปต่อ” ประกอบด้วย 1. มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2564 โดยพิจารณาแนวทางช่วยเหลือตามผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย ทั้งนี้ นับตั้งแต่กลางปี 2563 เป็นต้นมา SME D Bank ได้ส่งเจ้าหน้าที่สาขา SME D Bank ติดต่อสอบถาม และตรวจเยี่ยมกิจการลูกค้าทั่วประเทศ เพื่อสำรวจผลกระทบ และแนะนำเข้าสู่มาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ สอบถาม และสำรวจผลกระทบ เพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือแก่ลูกค้าทั่วประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะใน 28 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อจะช่วยเหลือลูกค้าได้รวดเร็วทันท่วงที 2. มาตรการเติมเงินใหม่ มุ่งเสริมสภาพคล่อง ผ่านโครงการสินเชื่อพิเศษ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ไฮไลท์สำคัญ คือ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash” ครอบคลุมทุกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อให้นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง และ/หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ นอกจากนั้น ยังมีสินเชื่อต่างๆ เช่น “สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” อัตราดอกเบี้ย นิติบุคคล 2.875%ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท และบุคคลธรรมดา 4.875%ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี “สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง SME D Happy” อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.25% วงเงินกู้ บุคคลธรรมดา สูงสุด 5 ล้านบาท นิติบุคคล สูงสุด 15 ล้านบาท และ “สินเชื่อ SMART SMEs” เปิดโอกาสรับผู้ประกอบการ Refinance จากสถาบันการเงินเดิม ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ คิดอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปีในปีแรก วงเงินกู้สูงสุดถึง 15 ล้านบาท เป็นต้น ลูกค้า SME D Bank และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป สามารถแจ้งความประสงค์เข้ารับมาตรการได้ ณ สาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ รวมถึง เพื่อความสะดวก และลดความเสี่ยงจากการเดินทาง แจ้งผ่านทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ผ่านช่องทาง เช่น สแกน QR Code ในใบแจ้งหนี้ , แอปพลิเคชัน “SME D Bank” ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android , LINE Official Account: SME Development Bank และเว็บไซต์ www.smebank.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 นอกจากนั้น SME D Bank ร่วมกับสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปล่อยกู้ผ่านสินเชื่อ “SMEs One” อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี วงเงินยื่นกู้ บุคคลธรรมดา สูงสุด 5 แสนบาท นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สูงสุด 3 ล้านบาท เปิดแจ้งความประสงค์ผ่าน 5 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ 1.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 3.สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย 4.สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ 5.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ขณะเดียวกัน SME D Bank ช่วยผู้ประกอบการเติบโตยั่งยืน สามารถปรับตัวสู่ยุค New Normal โดยเปิดบริการต่าง ๆ ให้ใช้งานฟรี เช่น เปิดช่องทางขายสินค้าในตลาดนัดออนไลน์ ด้วยเฟซบุ๊กกรุ๊ป “ฝากร้านฟรี SME D Bank” และส่งเสริมลูกค้านำสินค้าขยายตลาดผ่านแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ชื่อดัง เช่น Shopee , LAZADA , Thailandpostmart , Alibaba , LINE , JD Central เป็นต้น
  • 12 ม.ค. 2564
    นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อภาคการส่งออกของไทย EXIM BANK ได้ออก “มาตรการพักชำระหนี้ในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง” เพื่อเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนลูกค้า ทั้งที่เป็นผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออกและผู้ส่งออก ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่สีแดง (Red zone) สีส้ม (Orange zone) และสีเหลือง (Yellow zone) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้
  • 11 ม.ค. 2564
    ธนาคารออมสิน เร่งออกมาตรการด่วนช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร จำนวนกว่า 1.9 ล้านราย ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด/พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด โดยให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ สามารถเข้ามาตรการพักชำระเงินต้น ลดการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ได้ ระยะเวลามาตรการ 3 - 6 เดือน เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 นี้ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ลูกค้าของธนาคารออมสินในพื้นที่จังหวัด ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด/พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด หรือพื้นที่สีแดง ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถลงทะเบียนเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่เดือดร้อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ได้ โดยธนาคารจะพิจารณาให้ลูกค้าสามารถขอพักชำระเงินต้นไว้ก่อน โดยจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย หรือขอลดการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วนได้ แล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับความหนักเบาของผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งมาตรการครั้งนี้มีระยะเวลา 3 - 6 เดือน "จากข้อมูลลูกค้าของธนาคารพบว่า ในพื้นที่ 28 จังหวัดมีลูกค้าสินเชื่อของธนาคารจำนวนกว่า 1.9 ล้านราย วงเงินสินเชื่อกว่า 670,000 ล้านบาท ซึ่งการระบาดระลอกใหม่และพื้นที่ดังกล่าว ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด คาดว่าจะมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาได้รับผลกระทบ ธนาคารจึงได้เร่งเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ธนาคารจะติดต่อกลับเพื่อดำเนินการในรายละเอียดต่อไป" นายวิทัย กล่าว ทั้งนี้ ลูกค้าสินเชื่อธนาคารออมสินในพื้นที่จังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด/พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด สามารถลงทะเบียนเข้ามาตรการช่วยเหลือได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th พร้อมทั้งระบุข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการติดต่อให้ชัดเจนครบถ้วน เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไป โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ธนาคารออมสิน โทร.1115 https://www.gsb.or.th/news/gsbpr2/
  • 4 ส.ค. 2563
    ธนาคารออมสิน เปิดให้กู้รอบ 2 “สินเชื่อช่วยประชาชนที่มีรายได้ประจำ” ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ให้กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 3 ปี คลายเงื่อนไขใช้สลิปเงินเดือนย้อนหลังเดือนเดียวเท่านั้น หรือสเตทเมนท์แค่ 3 เดือน
  • 19 มิ.ย. 2563
    นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สำหรับผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่เสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชนได้ โดยผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ
  • 21 พ.ค. 2563
    กรมบัญชีกลาง เตรียมจ่ายเงินเยียวยาคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านระบบ e-Social Welfare 29 พ.ค. 63
  • 7 พ.ค. 2563
    กรมบัญชีกลางอนุมัติให้กระทรวงแรงงานขยายระยะเวลาการจ้างงาน ช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์COVID - 19
  • 1 พ.ค. 2563
    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ มาตรการที่ 8 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าฝ่าวิกฤต COVID-19