article

ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน
21 ธ.ค. 2561
icon 151615

หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัด

สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีดังนี้

ส่วนราชการที่ไม่สังกัดกลุ่มภารกิจใด
  • สำนักงานรัฐมนตรี มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านช่วยอำนวยการและประสานงานตามที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรี ประสานราชการทางการเมือง ติดต่อกับรัฐสภาและการตอบกระทู้ถามของสมาชิกรัฐสภา พิจารณาเรื่องการขอเข้าพบและนัดหมายของรัฐมนตรี ตรวจสอบเรื่องราวและความคิดเห็นเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการและคำร้องทุกข์
  • สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการประจำ การประสานงาน การตรวจ ราชการของกระทรวง งานเผยแพร่-ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารในภาพรวม นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องวินัยของข้าราชการ และปฏิบัติราชการในเรื่องที่มิได้เป็นหน้าที่ของ ส่วนราชการใด
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มีบทบาทและภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะและออกแบบนโยบาย และมาตรการด้านการคลัง ระบบการเงิน รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต่อกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในนโยบายและผลงานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน และหน่วยงานทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน
  • กรมธนารักษ์ มีหน้าที่ผลิตเหรียญกษาปณ์ จัดทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อนุรักษ์ เก็บรักษา จัดแสดงและ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดิน จัดให้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ นอกจากนี้ ยังมี หน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการรับ-จ่ายแลก และเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ การเบิก-ส่งเงินคงคลัง ของจังหวัด การควบคุมยอดเงินฝากของรัฐที่ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย การเงิน การบัญชี ค่าตอบแทน และสวัสดิการของรัฐวิสาหกิจ กำหนดนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน พัฒนาประสิทธิภาพของ รัฐวิสาหกิจ จัดให้มีระบบประเมินผลการดำเนินงานและระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
  •  
กลุ่มภารกิจด้านรายได้
  • กรมศุลกากร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีศุลกากรขาเข้า-ขาออก และค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งจะต้องมีการป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีภาษี นอกจากนี้ ยังมีภารกิจหลักใน การส่งเสริมการส่งออก โดยมาตรการทางภาษีอากร และการให้บริการแก่ผู้นำเข้าและส่ง เพื่อสนอง นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาด ต่างประเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  • กรมสรรพสามิต มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าบางประเภทที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักร และสินค้าบางชนิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ภาษีสุรา ภาษีสถานบริการ ภาษียาสูบ โดยมีมาตรการ ควบคุมจัดเก็บภาษีและการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขัน
  • กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บรายได้ภาษีให้ภาครัฐ เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำมาใช้ พัฒนาประเทศ กำกับ/ตรวจสอบการปฏิบัติด้านภาษีตามมาตรฐาน ติดตามและเร่งรัดภาษีอากรค้าง ตัวแทนฝ่ายรัฐในการรักษาความเป็นธรรมและรักษาสภาพบังคับใช้กฎหมายภาษี พิจารณาปรับปรุงตัวบท กฎหมายและระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและ การส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความ สมัครใจในการเสียภาษี นอกจากนี้ได้ทำความตกลงกับประเทศต่างๆ เพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รายงานประจำปี กระทรวงการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2553
กลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน
  • กรมบัญชีกลาง เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ ด้านกฎหมาย การคลังการบัญชี การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การตรวจสอบภายใน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ บริหารงานบุคคลลูกจ้างของส่วนราชการ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคุมการเบิกจ่ายเงินและบริหารการใช้จ่ายเงินทั้งที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณให้ สอดคล้องกับการรักษาวินัยและความยั่งยืนทางการคลัง บริหารเงินสดภาครัฐ บริหารการรับ-จ่ายเงิน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สนับสนุนการบริหารเศรษฐกิจการคลัง ในส่วนภูมิภาค พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐทางด้านการบริหารการเงินภาครัฐ และเป็น ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการคลัง
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนการก่อหนี้ในภาพรวม ดำเนินการ เกี่ยวกับการผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ บริหารหนี้สาธารณะ ทั้งด้านการบริหารความเสี่ยงและการบริหารเงินสด จัดทำฐานข้อมูลหนี้ของประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการ เบิกจ่ายเงินกู้และการชำระหนี้ ดำเนินการหรือจัดให้มีการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการผูกพันและบริหารหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศ
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรของรัฐบาล พ.ศ. 2496 กำหนดให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์กรของ รัฐบาลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นพระราชกฤษฎีกาขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือในการครองชีพ หรืออำนวยบริการแก่ประชาชน โดยใช้เงินทุน จากงบประมาณแผ่นดิน พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นรากฐานของการกำเนิดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในปัจจุบัน กระทรวงการคลังมีรัฐวิสาหกิจในสังกัดจำนวน 15 แห่ง ได้แก่

  1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคลในลักษณะรัฐวิสาหกิจ กระทำการตามวัตถุประสงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
    พ.ศ. 2517 มาตรา 5 ดังนี้
        -  ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
        -  จัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากและสิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
        -  ให้ความเห็นชอบกระทำกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  2. การยาสูบแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทหารายได้ให้รัฐ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการผลิตและจำหน่ายยาสูบให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ผู้บริโภค และพัฒนาคุณภาพของยาสูบ ให้ถูกรสนิยมของผู้บริโภค หารายได้จากการประกอบอุตสาหกรรมยาสูบนำส่งรัฐ รวมถึงรับผิดชอบ เกษตรกรชาวไร่ยาสูบในการเพาะปลูก กำหนดโควตาการปลูก การรับซื้อโดยการประกันราคา ตลอดจน พยายามแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่โรงงานยาสูบมีศักยภาพและทรัพยากร รายงานประจำปี กระทรวงการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2553
  3. ธนาคารออมสิน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักประหยัดและการออมทรัพย์ ไว้กับธนาคาร ด้วยการเสนอบริการหลายประเภท นอกจากนี้ ยังให้บริการด้านสินเชื่อแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชน รวมทั้งการลงทุนหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยการดำเนินงานส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่จะ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคและชนบทให้ดีขึ้น
  4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้มี รายได้น้อย และปานกลางให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป และดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ดังนี้
        -  การให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ประชาชน ภาคเอกชน ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างประจำ ในสังกัดหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานทั่วไป และสำหรับโครงการต่างๆ ตามนโยบาย ของรัฐบาล อาทิ โครงการสวัสดิการเงินกู้ เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ และโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่
    อาศัยแก่เกษตรกรในชนบท เป็นต้น
        -  การระดมทุน รับฝากเงินประเภทต่างๆ ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝาก ออมทรัพย์สินเคหะ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และเงินฝากประจำ กู้เงินระยะยาวภายในประเทศ และการออกพันธบัตรกู้เงินระยะยาวจากต่างประเทศ
  5. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ทุกประเภท และสนองตอบ นโยบายของรัฐ ทั้งในด้านการเป็น Lead Bank เพื่อการดำเนินนโยบายการเงินของทางราชการ การรักษา เสถียรภาพในระบบการเงินและตลาดทุนของประเทศ การกระจายสินเชื่อสู่ภูมิภาค และภาคเศรษฐกิจ สำคัญๆ และตามโครงการต่างๆ ที่รัฐให้การสนับสนุน นอกจากนี้ ยังให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรการกุศลต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย
  6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าลงทุนในการประกอบอาชีพ ฟื้นฟูการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม อาชีพเกี่ยวเนื่อง หรืออาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิต และ เป็นเงินทุนระหว่างรอการขายผลิตผล ตลอดจนเพื่อชำระหนี้สินภายนอก นอกจากนี้ ยังรวมถึงภารกิจในการ แสวงหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรอีกด้วย
  7. องค์การสุรา (กรมสรรพสามิต) มีหน้าที่ควบคุมการจัดตั้งโรงงานผลิตสุรา และผลิตภัณฑ์สุรา เพื่อหา รายได้ให้แก่รัฐ และประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
       -  ทำการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโรงงาน
       -  ตั้งและรับเป็นสาขาตัวแทน ตัวแทนการค้าต่างๆ อันเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์
       -  กระทำกิจการอื่นๆ และบริการต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตสุรา
  8. โรงงานไพ่ (กรมสรรพสามิต) มีอำนาจหน้าที่ในการผลิตไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486 และ รับจ้างพิมพ์สิ่งพิมพ์ทุกชนิดเพื่อหารายได้ให้รัฐ รวมถึงดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน ทำการค้า เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโรงงานไพ่ ตั้งและรับเป็นสาขาตัวแทน ตัวแทนการค้าต่างๆ อันเกี่ยวกับกิจการ ตามวัตถุประสงค์
  9. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ส่งเสริมการสร้างและสนับสนุนผู้ส่งออกและผู้ลงทุนที่ทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศหรือประหยัดเงินตราต่างประเทศ โดยทำธุรกิจ หรือกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือนักธุรกิจไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ และให้บริการทางการเงิน ในส่วนที่ระบบธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถตอบสนองได้ รวมทั้งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการ ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออก การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
  10. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม มีหน้าที่ช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อมให้ได้รับ สินเชื่อจากสถาบันการเงินจำนวนมากขึ้น ช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ ภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อมมากขึ้น เร่งการกระจายสินเชื่อไปยังภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อมทั่วประเทศ ได้เร็วขึ้น ช่วยให้การพัฒนาภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ
  11. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีบทบาทในตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งการสนับสนุนธุรกิจ สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในตลาดแรก เพื่อให้ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย สามารถขยายเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้มีแหล่ง เงินทุนระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสามารถกู้ยืมในอัตรา ดอกเบี้ยที่ต่ำลง ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นการพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ระยะยาวต่อไป
  12. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีหน้าที่พัฒนาส่งเสริมและช่วยเหลือสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยายหรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน ร่วมลงทุน ให้คำปรึกษาแนะนำหรือให้บริการอื่นที่จำเป็น
  13. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีหน้าที่ลงทุนก่อสร้างอาคารและบริหารโครงการศูนย์ราชการ กรุงเทพมหานคร และบริหารจัดการ ก่อสร้าง และพัฒนาทรัพย์สินของภาครัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์ สูงสุด รวมถึงเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการเสริมสร้างความแข็งแรงและยั่งยืนให้แก่ประเทศ พร้อมทั้ง สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐ
  14. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีหน้าที่สนับสนุนและเร่งดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อสนองตอบ ความจำเป็นดังกล่าว โดยการหาทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในสังคม เพิ่มโอกาส ทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์กู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและอาชีวะ) จนถึงระดับปริญญาตรี อันจะมีส่วนสำคัญในการช่วย ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
  15. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพัน กับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่นที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อตอบสนองความต้องการ สำหรับชาวไทยมุสลิมให้มีช่องทางทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม และสามารถสนองต่อความ ต้องการของประชาชนทั่วไปได้
องค์การมหาชน

สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. จัดตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่หลักดังต่อไปนี้

  1. ให้การช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการที่เกี่ยวโยงกับการช่วยเหลือทางการเงินในการร่วมมือพัฒนา เศรษฐกิจแก่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน
  2. ให้การร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
  3. รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดหรือการดำเนินนโยบาย และมาตรการการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
  4. ประสานการใช้อำนาจหน้าที่หรือการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ องค์การหรือหน่วยงานในประเทศ หรือต่างประเทศ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศ เพื่อนบ้าน
หน่วยงานอิสระ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง

มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) จัดตั้งโดยกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานอิสระ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง ไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการ ทำหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภารกิจของกระทรวงการคลังและประเทศ เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้ง สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงการคลังผ่านการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาในสาขาต่างๆ ให้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่นๆ